กัญชาจัดเป็นสมุนไพรที่มีใช้กันอย่างแพร่หลายทางการแพทย์แผนไทยมานานกว่า 300 ปี แต่เนื่องจากกัญชามีฤทธิ์ทำให้เสพติดจึงถูกจัดอยู่ในสารเสพติดประเภทที่ 5 ตามพรบ.ยาเสพติดให้โทษ แต่ก็ยังมีการลักลอบใช้สารสกัดจากกัญชาเพื่อรักษาอาการของโรคพาร์กินสัน มะเร็ง ลมชัก บรรเทาอาการคลื่นไส้อาเจียนและอาการปวด เป็นต้น ซึ่งเรียกว่าเป็นการใช้กัญชาแบบใต้ดิน
ปัจจุบันมีความก้าวหน้าด้านการศึกษาวิจัยและข้อมูลทางวิชาการในต่างประเทศ สนับสนุนว่ากัญชาสามารถนํามาใช้รักษาโรคบางโรคได้จริง ทำให้การใช้กัญชาเพื่อการแพทย์ถูกกฎหมายในหลายๆประเทศ รวมถึงมีการคาดการณ์ว่า กัญชาจะเป็นพืชเศรษฐกิจของประเทศไทยในอนาคตได้ ทำให้มีการ “คลายล็อกกัญชา” ตาม พรบ.ยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่๗) พ.ศ.๒๕๖๒ แต่ยังไม่ใช่การเปิดเสรีกัญชาอย่างที่คนส่วนหนึ่งเข้าใจผิดกัน
สาระสําคัญของการคลายล็อคกัญชา
กัญชายังเป็นยาเสพติดประเภทที่ ๕ ห้ามผลิต นําเข้า ส่งออก จําหน่าย หรือมีไว้ในครอบครอง เว้นแต่ได้รับอนุญาตในกรณีประโยชน์ของทางราชการ การแพทย์ การศึกษาวิจัย รวมถึงเกษตรกรรม พาณิชยกรรม วิทยาศาสตร์หรืออุตสาหกรรมเพื่อประโยชน์ทางการแพทย์ ผู้ขออนุญาตใช้ประโยชน์จากกัญชาเป็นผู้ประกอบวิชาชีพ ได้แก่ เวชกรรม ทันตกรรม เภสัชกรรมการสัตวแพทย์ชั้น 1 แพทย์แผนไทย แพทย์แผนไทยประยุกต์หรือหมอพื้นบ้านตามกฎหมาย
ประเด็นสําคัญของการใช้กัญชาทางการแพทย์
1. ต้องมีปลอดภัย (safety) สารสกัดจากกัญชาปลอดภัยจากสารพิษเจือปน มีความเสี่ยงเกิดอันตรายต่ำเมื่อใช้รักษาผู้ป่วย
2. มีประสิทธิผลในการรักษา (effectiveness) Benefit > risk
3. มีความเป็นธรรมในการเข้าถึงการรักษา (equity) ผู้ป่วยเข้าถึงสารสกัดจากกัญชาอย่างเท่าเทียม ไม่เอื้อประโยชน์ให้ผู้ใด หรือกลุ่มใดเป็นพิเศษ
การนําสารสกัดกัญชามาใช้ทางการแพทย์ต้องดําเนินการบนพื้นฐานหลักจริยธรรมทางการแพทย์ ดังนี้
1. การคํานึงสิทธิของผู้ป่วย (Autonomy)
2. การกระทําเพื่อประโยชน์สูงสุดแก่ผู้ป่วย (Beneficence)
3. การละเว้นไม่กระทําให้เกิดอันตรายแก่ผู้ป่วย (Do no harm)
4. การรักษาความลับของผู้ป่วย (Confidentiality)
5. การพูดความจริง (Truth telling)
6. ความยุติธรรมไม่เลือกปฏิบัติ (Justice)
ประโยชน์ของสารสกัดจากกัญชาทางการแพทย์
กลุ่มโรค/ภาวะอาการที่มีหลักฐานทางวิชาการสนับสนุนชัดเจนว่าสามารถใช้กัญชาเพื่อการรักษาแล้วได้ผลจริง
1. โรคลมชักที่รักษายาก และโรคลมชักดื้อต่อยารักษา
2. ภาวะคลื่นไส้และอาเจียนจากยาเคมีบําบัดที่รักษาด้วยวิธีมาตรฐานไม่ได้ผล
3. ภาวะกล้ามเนื้อหดเกร็ง (spasticity) ในผู้ป่วยโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง (multiple sclerosis)
4. ภาวะปวดประสาทที่รักษาด้วยวิธีอื่นๆ ไม่ได้ผล (intractable neuropathic pain)
กลุ่มโรค/ ภาวะที่สารสกัดจากกัญชาน่าจะมีประโยชน์ในการควบคุมอาการของโรค
1. โรคพาร์กินสัน
2. โรคอัลไซเมอร์
3. โรคปลอกประสาทอักเสบ (demyelinating disease)
4. โรควิตกกังวล (generalized anxiety disorder)
5. ผู้ป่วยที่ต้องดูแลแบบประคับประคอง
6. ผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้าย
![]() |
ภาพ cannabis-hemp-marijuana-1382955 จาก Pixabay.com |
ปัจจุบันมีความก้าวหน้าด้านการศึกษาวิจัยและข้อมูลทางวิชาการในต่างประเทศ สนับสนุนว่ากัญชาสามารถนํามาใช้รักษาโรคบางโรคได้จริง ทำให้การใช้กัญชาเพื่อการแพทย์ถูกกฎหมายในหลายๆประเทศ รวมถึงมีการคาดการณ์ว่า กัญชาจะเป็นพืชเศรษฐกิจของประเทศไทยในอนาคตได้ ทำให้มีการ “คลายล็อกกัญชา” ตาม พรบ.ยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่๗) พ.ศ.๒๕๖๒ แต่ยังไม่ใช่การเปิดเสรีกัญชาอย่างที่คนส่วนหนึ่งเข้าใจผิดกัน
สาระสําคัญของการคลายล็อคกัญชา
กัญชายังเป็นยาเสพติดประเภทที่ ๕ ห้ามผลิต นําเข้า ส่งออก จําหน่าย หรือมีไว้ในครอบครอง เว้นแต่ได้รับอนุญาตในกรณีประโยชน์ของทางราชการ การแพทย์ การศึกษาวิจัย รวมถึงเกษตรกรรม พาณิชยกรรม วิทยาศาสตร์หรืออุตสาหกรรมเพื่อประโยชน์ทางการแพทย์ ผู้ขออนุญาตใช้ประโยชน์จากกัญชาเป็นผู้ประกอบวิชาชีพ ได้แก่ เวชกรรม ทันตกรรม เภสัชกรรมการสัตวแพทย์ชั้น 1 แพทย์แผนไทย แพทย์แผนไทยประยุกต์หรือหมอพื้นบ้านตามกฎหมาย
ประเด็นสําคัญของการใช้กัญชาทางการแพทย์
1. ต้องมีปลอดภัย (safety) สารสกัดจากกัญชาปลอดภัยจากสารพิษเจือปน มีความเสี่ยงเกิดอันตรายต่ำเมื่อใช้รักษาผู้ป่วย
2. มีประสิทธิผลในการรักษา (effectiveness) Benefit > risk
3. มีความเป็นธรรมในการเข้าถึงการรักษา (equity) ผู้ป่วยเข้าถึงสารสกัดจากกัญชาอย่างเท่าเทียม ไม่เอื้อประโยชน์ให้ผู้ใด หรือกลุ่มใดเป็นพิเศษ
การนําสารสกัดกัญชามาใช้ทางการแพทย์ต้องดําเนินการบนพื้นฐานหลักจริยธรรมทางการแพทย์ ดังนี้
1. การคํานึงสิทธิของผู้ป่วย (Autonomy)
2. การกระทําเพื่อประโยชน์สูงสุดแก่ผู้ป่วย (Beneficence)
3. การละเว้นไม่กระทําให้เกิดอันตรายแก่ผู้ป่วย (Do no harm)
4. การรักษาความลับของผู้ป่วย (Confidentiality)
5. การพูดความจริง (Truth telling)
6. ความยุติธรรมไม่เลือกปฏิบัติ (Justice)
ประโยชน์ของสารสกัดจากกัญชาทางการแพทย์
กลุ่มโรค/ภาวะอาการที่มีหลักฐานทางวิชาการสนับสนุนชัดเจนว่าสามารถใช้กัญชาเพื่อการรักษาแล้วได้ผลจริง
1. โรคลมชักที่รักษายาก และโรคลมชักดื้อต่อยารักษา
2. ภาวะคลื่นไส้และอาเจียนจากยาเคมีบําบัดที่รักษาด้วยวิธีมาตรฐานไม่ได้ผล
3. ภาวะกล้ามเนื้อหดเกร็ง (spasticity) ในผู้ป่วยโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง (multiple sclerosis)
4. ภาวะปวดประสาทที่รักษาด้วยวิธีอื่นๆ ไม่ได้ผล (intractable neuropathic pain)
กลุ่มโรค/ ภาวะที่สารสกัดจากกัญชาน่าจะมีประโยชน์ในการควบคุมอาการของโรค
1. โรคพาร์กินสัน
2. โรคอัลไซเมอร์
3. โรคปลอกประสาทอักเสบ (demyelinating disease)
4. โรควิตกกังวล (generalized anxiety disorder)
5. ผู้ป่วยที่ต้องดูแลแบบประคับประคอง
6. ผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้าย