กัญชาเป็นพืชดั้งเดิมที่พบได้ทั่วไปในหลายภูมิภาคทั่วโลก
กัญชามีอยู่ด้วยกัน 3 สายพันธุ์หลัก ได้แก่ Cannabis
sativa, Cannabis indica, และ Cannabis ruderalis กัญชามีชื่อเรียกขานต่างกันไปในแต่ละภูมิภาค เช่น Cannabis, Marijuana,
Marihuana, Hemp, Kief, Weed, Hashish หรือ Bang คำเหล่านี้บางครั้งก็ใช้ในความหมายที่ต่างกันไป เช่น hemp หมายถึง กัญชง ซึ่งเป็นสายพันธุ์ย่อยของกัญชา ที่มักนำมาใช้ในอุตสาหกรรมสิ่งทอ
หรือ hashish ซึ่งหมาย ถึง น้ำมันกัญชาอัดแห้ง เป็นต้น
United Nations Single
Convention on Narcotic Drugs ได้ให้คำจำกัดความกัญชาว่า ‘the
flowering or fruiting tops of the cannabis plant (excluding the seeds and
leaves when not accompanied by the tops) from which the resin has not been
extracted, by whatever name they may be designated.’
สารที่เป็นองค์ประกอบของกัญชาที่เรียกว่า
Cannabinoids
แบ่งออกได้เป็นสามประเภท ได้แก่
(1)
Phytocannabinoids เป็น cannabinoids ที่ได้จากกัญชาตามธรรมชาติ
(2) Endocannabinoids เป็น cannabinoids ที่เป็นสารสื่อประสาทในคนหรือสัตว์
โดยออกฤทธิ์กับ cannabinoid receptor
(3)
Synthetic cannabinoids เป็น cannabinoids ที่สังเคราะห์ขึ้นในห้องปฏิบัติการ
กัญชามีสารเคมีที่เป็นองค์ประกอบอยู่มากกว่า
750 ชนิด มีรายงานว่าในจำนวนนี้มีอยู่มากกว่า 104 ชนิดที่เป็นสาร cannabinoids การใช้พืชกัญชาจากส่วนประกอบที่ต่างกันอาจให้ผลที่ต่างกันไป เช่นใบกัญชาหรือดอกกัญชาตามธรรมชาติซึ่งไม่ผ่านกระบวนการสกัดหรือการเตรียมการใดๆด้วยวิธีการทางห้องปฏิบัติการทำให้คาดการณ์ผลที่เกิดกับผู้ใช้ได้ยาก เนื่องด้วยผู้ใช้อาจใช้วิธีการต่างๆกัน
ทำให้ได้ปริมาณของ cannabinoids เข้าสู่ร่างกายต่างกัน เช่น
การสูบกัญชามักออกฤทธิ์ได้เร็วกว่าการกิน เพราะการกินทำให้ฤทธิ์ cannabinoids สูญเสียไปบ้างจากกระบวนการสลาย (catabolism) เมื่อผ่านตับ
การนำกัญชามาใช้ในทางการแพทย์จึงยังต้องการการศึกษาถึงที่มาและปริมาณที่เหมาะสมในการนำมาใช้เป็นยาอีกมาก การนำกัญชามาใช้อย่างผิดวิธีย่อมส่งผลเสียต่อร่างกาย อีกทั้งการนำกัญชามาใช้ทางการแพทย์จำเป็นต้องอยู่ภายใต้การควบคุมของแพทย์ ซึ่งแพทย์จะเป็นผู้พิจารณาการใช้กัญชาทางการแพทย์กับผู้ป่วยเป็นกรณีไป ผู้ป่วยไม่ควรหากัญชามาใช้ในการรักษาด้วยตนเอง เพราะกัญชาจัดเป็นสารเสพติดที่ออกฤทธิ์แบบผสมผสานทั้งกระตุ้นประสาท กดประสาท และหลอนประสาท อาจทำให้เกิดโทษจากการใช้มากกว่าประโยชน์ที่ได้และก่ออาการไม่พึงประสงค์จากการใช้กัญชาได้ โดยอาการพบได้บ่อย ได้แก่ ซึมเศร้า สับสน ประสาทหลอน กระสับกระส่าย ตื่นเต้น เวียนศีรษะ ปากแห้ง เป็นต้น