มนุษย์มี Cannabinoid
receptors 2 ชนิด ได้แก่ CB1 receptors และ CB2
receptors ซึ่งสามารถจับกับสารสื่อประสาทกลุ่ม Endocannabinoids
ที่พบเป็นสารเคมีที่พบเป็นองค์ประกอบของกัญชา โดยสามารถพบ CB1 receptors ในหลายๆส่วนของสมอง ทั้งในสมองส่วนcortexที่ใช้การคิดคำนวณและการสั่งการเคลื่อนไหว
สมองส่วนhippocampusที่ใช้ในการจดจำ สมองส่วนbasal
gangliaที่ใช้ในการวางแผน สมองส่วนventral striatumที่ให้ความรู้สึกตื่นเต้นดีใจเหมือนได้รางวัลและความพึงพอใจ สมองส่วน amygdalaที่มีผลต่อความกังวลและความกลัว สมองส่วนhypothalamusที่หลั่งฮอร์โมนความหิวและความต้องการทางเพศ และสมองส่วนcerebellumที่มีผลต่อการทรงตัวและการเคลื่อนไหว ขณะที่พบ CB2 receptors
มากในระบบภูมิคุ้มกัน(Immune system) ซึ่งควบคุมการหลั่งสาร
Cytokines และระบบการสร้างเม็ดเลือด (Haemopoietic
system) แต่ก็มีหลักฐานว่าพบ CB2 receptors ในสมองเช่นกัน CB2 receptors จึงได้รับความสนใจมากในทางการแพทย์ ด้วยความมุ่งหวังว่ายาที่สกัดจากสารประกอบของกัญชาจะทำงานผ่าน
CB2 receptors มากกว่า CB1 receptors เพื่อหลีกเลี่ยงฤทธิ์ทางจิตประสาทที่เกิดจากสาร
THC จับกับ CB1 receptors
ฤทธิ์ของ endocannabinoids ที่มีผลต่อการทำงานของอวัยวะส่วนต่างๆในร่างกาย
ระบบของร่างกาย
|
ฤทธิ์ของ endocannabinoids
ต่อการทำงาน
|
ระบบทางเดินอาหาร
(Gastrointestinal system)
|
CB1 และ CB2 receptors ปรากฏทั่วไปในเซลล์เยื่อบุลำไส้
มีการศึกษาที่ระบุว่าการกระตุ้น receptors เหล่านี้มีผลลดการเคลื่อนที่ของลำไส้
ลดการหลั่งกรดในกระเพาะ และเพิ่มความอยากอาหาร การเปลี่ยนแปลงของยีนที่ส่งผลต่อการทำงานของเอนไซม์ที่ช่วยลดการจับของ
endocannabinoids กับ CB1 receptors ทำให้ผู้ป่วยมีความเสี่ยงต่อโรคลำไส้แปรปรวน
(irritable bowel syndrome)
|
ระบบหัวใจและหลอดเลือด
(Cardiovascular system)
|
CB1 และ CB2 receptors ปรากฏทั่วไปในเซลล์กล้ามเนื้อหัวใจ
endocannabinoids มีผลเพิ่มปริมาณเลือดที่สูบฉีดจากหัวใจ (cardiac
output) และเพิ่มความต้องการออกซิเจนของเซลล์กล้ามเนื้อหัวใจ
มีรายงานกรณีศึกษาว่า สารประกอบในกัญชามีความเกี่ยวข้องกับการเพิ่มความเสี่ยงโรคหัวใจขาดเลือด
(Myocardial infarction)
|
ตับ (Liver)
|
CB1 และ CB2 receptors ปรากฏค่อนข้างน้อยในเซลล์ตับ
การเพิ่มขึ้นของ CB1 receptors มีผลเพิ่มการสร้างพังผืด (fribogenesis)
และเพิ่มการสะสมไขมันในตับ (steatosis)
|
ระบบภูมิคุ้มกัน
(Immune system)
|
การกระตุ้น CB1
และ CB2 receptors (โดยเฉพาะ CB2) มีผลลดการตอบสนองของระบบภูมิคุ้มกัน (antibody response) โดยการลดการทำงานของ T-lymphocyte และลดการหลั่งสาร
cytokines หลายชนิด เช่น Interferon gamma หรือ Interleukin-12
|
ระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ
(Musculoskeletal system)
|
Endocannabinoids โดยมากทำงานผ่าน CB2
receptors ในการควบคุมการสันดาป (metabolism) ในเซลล์กล้ามเนื้อ การยับยั้งการทำงานของ endocannabinoids ผ่าน CB1 receptors เพิ่ม differentiation ของเซลล์กล้ามเนื้อ
|
ระบบสืบพันธุ์
(Reproductive system)
|
การทำงานของ endocannabinoids
ผ่าน CB1 receptors มีผลลดการเคลื่อนที่ของอสุจิ
(sperm motility) ทั้ง CB1 และ CB2
receptors มีผลต่อการตั้งครรภ์ และระบบสืบพันธุ์ในเพศหญิง การกระตุ้น
CB1 receptors มีผลขัดขวางการเจริญของตัวอ่อน
ขณะเดียวกันการลดการทำงานของ CB1 receptors มีผลทำให้การเคลื่อนที่ของไข่จากปีกมดลูกถูกรบกวน
ส่งผลเพิ่มความเสี่ยงต่อการแท้งหรือตั้งครรภ์นอกมดลูก
|
ระบบผิวหนัง (Skin)
|
การทำงานของ endocannabinoids
ผ่านทั้ง CB1 และ CB2 receptors มีผลควบคุมความสมดุลของการสร้างเซลล์ผิวหนัง ตัวอย่างเช่น
การกระตุ้นการทำงานของ CB1 receptors มีผลเพิ่มการตาย (apoptosis)
ของเซลล์ผิวหนังชั้นนอก (epidermal keratinocytes)
|